วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

Integration of Education Organic Rice-Planting

"ศีลเด่น  เป็นงาน  ชาญวิชา"


English vocabulary for planting rice
(คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่ใช้ในการปลูกข้าว)

Land preparation การเตรียมดิน
plough (v.) = ไถ
plough (n.) = คันไถ , คราด , เครื่องไถ
plow(v.) = คาด
plowing(n.) = การคราด
harrow (v.)= ไถ
harrowing(n.) = การไถ
lawn mowers(n.) = เครื่องตัดหญ้า
grasstrimmer with shoulder-strap= เครื่องตัดหญ้าแบบสะพาย
hand tractor(n.) = รถไถนาด้วยมือ
paddy rice(n.) = ข้าวเปลือก
paddy field(n.) = นาข้าว
rice fields = ทุ่งนา
till (v.) = ไถพรวน
tillage =
weeds (n.) = วัชพืช
seed(n.) = เมล็ดพันธ์
seedling = ต้นอ่อน,ต้นกล้า
(young plant grown from seed)
seed = เมล็ดพันธ์

cultivate(v.) เตรียมดินสำหรับเพาะปลูก

transplant(v.)=ปลูกถ่าย
Ex. Doctors are able to transplant kidneys.
หมอสามารถย้ายไตจากคนหนึ่งไปอีกคนหนึ่งได้

You had better get rid of the weeds before tillage.
คุณควรจะกำจัดวัชพืชก่อนมีการไถพรวนดิน

Although you can simply pull the weeds from small areas, it may not be practical or desired for large areas.
ถึงแม้ว่าคุณจะสามารถถอนต้นหญ้าจากแปลงเล็ก ๆ ได้ แต่ในพื้นที่ขนาดใหญ่แล้วอาจไม่เป็นที่พึงประสงค์

The paddy had to be flooded and the soil worked into a soft mud to accept the rice seedlings.
พื้นที่นาต้องถูกเติมน้ำให้ท่วมและพื้นดินต้องเป็นดินโคลนเพื่อที่จะรองรับต้นกล้า

ridge= คันนา
Ex.  In preparation for rice planting in the rainy season, ridges are formed between rice fields., people used to grow soybeans on these ridges.
ในการเตรียมการปลูกข้าวในช่วงฤดูฝน, คันนาถูกสร้างขึ้นระหว่างแปลงนา, ผู้คนเคยกับการปลูกถั่วเหลืองบนแปลฃคันนา

small water way = ทางส่งน้ำขนาดเล็ก


The purpose for land preparation วัตถุประสงค์ในการเตรียมดิน
1) การปรับปรุงโครงสร้างของดินทางฟิสิกส์                                                                                            เพื่อปรับปรุงโครงสร้าง สมบัติทางฟิสิกส์ของดินในทุกๆ ด้านให้ดีขึ้น สมบัติดังกล่าวได้แก่ การมีช่องว่างอากาศในเม็ดดินเพิ่มขึ้น การเพิ่มความสามารถการเก็บรักษาความชื้นของดินและการระบายน้ำของดิน ตลอดถึงการย่อยดินให้แตกมีขนาดเหมาะสมต่อการงอกของเมล็ดและการเจริญเติบโตของรากต้นกล้า
2) เพื่อกำจัดวัชพืชให้หมดไปจากพื้นที่ปลูก ทั้งนี้เพื่อลดการแก่งแย่งแข่งขันปัจจัยการผลิตพืชต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น แสง น้ำ และแร่ธาตุอาหารต่างๆ ระหว่างวัชพืชกับพืชปลูก ทำให้พืชปลูกสามารถเจริญเติบโตงอกงามได้รวดเร็วขึ้น โดยไม่มีคู่แข่ง
3) เพื่อเป็นการจัดเตรียมแปลงปลูก เตรียมแถวปลูกให้เหมาะสมกับพืชที่จะปลูก ตลอดทั้งเพื่อการปฏิบัติการใช้เครื่องมือ เครื่องทุ่นแรงต่าง ๆ หลังจากที่พืชงอกแล้ว

ธาตุไนโตรเจนปกติจะมีอยู่ในอากาศในรูปของก๊าซไนโตรเจนเป็นจำนวนมาก แต่ไนโตรเจนในอากาศในรูปของก๊าซนั้น พืชนำเอาไปใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้ (ยกเว้นพืชตระกูลถั่วเท่านั้นที่มีระบบรากพิเศษสามารถแปรรูปก๊าซไนโตรเจนจากอากาศ เอามาใช้ประโยชน์ได้) ธาตุไนโตรเจนที่พืชทั่ว ๆ ไปดึงดูดขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้นั้น จะต้องอยู่ในรูปของอนุมูลของประกอบ เช่น แอมโมเนียมไอออน (NH4+) และไนเทรตไอออน (No3-) ธาตุไนโตรเจนในดินที่อยู่ในรูปเหล่านี้จะมาจากการสลายตัวของสารอินทรียวัตถุในดิน โดยจุลินทรีย์ในดินจะเป็นผู้ปลดปล่อยให้ นอกจากนั้นก็ได้มาจากการที่เราใส่ปุ๋ยเคมีลงไปในดินด้วย













พืชโดยทั่วไปมีความต้องการธาตุไนโตรเจนเป็นจำนวนมาก เป็นธาตุอาหารที่สำคัญมากในการส่งเสริมการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของพืช พืชที่ได้รับไนโตรเจนอย่างเพียงพอ ใบจะมีสีเขียวสด มีความแข็งแรง โตเร็ว และทำให้พืชออกดอกและผลที่สมบูรณ์ เมื่อพืชได้รับไนโตรเจนมาก ๆ บางครั้งก็ทำให้เกิดผลเสียได้เหมือนกัน เช่น จะทำให้พืชอวบน้ำมาก ต้นอ่อน ล้มง่าย โรคและแมลงเข้ารบกวนทำลายได้ง่าย คุณภาพผลิตผลของพืชบางชนิดก็จะเสียไปได้ เช่น ทำให้ต้นมันไม่ลงหัว มีแป้งน้อย อ้อยจืด ส้มเปรี้ยว และมีกากมาก แต่บางพืชก็อาจทำให้คุณภาพดีขึ้น โดยเฉพาะพวกผักรับประทานใบ ถ้าได้รับไนโตรเจนมากจะอ่อน อวบน้ำ และกรอบ ทำให้มีเส้นใยน้อย และมีน้ำหนักดี แต่ผักมักจะเน่าง่าย และแมลงชอบรบกวน
พืชเมื่อขาดไนโตรเจนจะแคระแกร็น โตช้า ใบเหลือง โดยเฉพาะใบล่าง ๆ จะแห้ง ร่วงหล่นเร็วทำให้แลดูต้นโกร๋น การออกดอกออกผลจะช้า และไม่ค่อยสมบูรณ์นัก ดินโดยทั่ว ๆ ไปมักจะมีไนโตรเจนไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช ดังนั้นเวลาปลูกพืชจึงควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยเคมีเพิ่มเติมให้กับพืชด้วย
https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet6/envi2/subsoil/nitro.htm


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น